ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

Conjunction (ตัวเชื่อม) ตอนที่ 2


ต่อจาก entry ที่แล้ว
ระวัง 
เพราะมี Tip
1. ตัวเชื่อมความ คือ ตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่าง  ประโยค กับ ประโยค
นี่จึงจะถือว่าเป็น Conjunction (ตัวเชื่อม) ของแท้
S + v + Conjunction + S + V ( ประโยค + ตัวเชื่อม + ประโยค)
2. ตัวเชื่อมคำ  คือ  ตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่าง  ประโยค กับ คำ หรือ คำ กับ คำ
นี่เค้าเรียกว่า Preposition (บุพบท) นะตัว ต้องดูให้ดี
S + V + Prep. + n./obj. / pro. / V.ing (ประโยค + บุพบท + คำนาม/กรรม/คำสรรพนาม/กิริยานาม)
ตัวเชื่อมใช้เลือกใช้ตามความหมาย แบ่งเป็นกลุ่มๆ
1. ตัวเชื่อมบอกความคล้อยตาม หรือ เสริมความเพิ่มเติมข้อมูล
ม้กจะมีความหมายเหมือนคำว่า "and" แปลว่า "และ" เวลาใช้ต้องใช้หลักการคู่ขนาน (Parallelism)ด้วยทุกครั้ง คือ ถ้าหน้า and เป็น noun หลัง and ก็ต้องเป็น noun แน่นอน หรือ หน้า and เป็น adj. หลัง and ก็ต้องเป็น adj.
ในกลุ่มนี้มี
  • Besides (นอกจากนี้)
  • Moreover (ยิ่งไปกว่านั้น)
  • Furthermore (ยิ่งไปกว่านั้น)
  • In addition  (ยิ่งไปกว่านั้น)
  • พวกนี้จะตามด้วยประโยค ( + S + V.)
  • Not only ... but also (ไม่เพียงแต่ ... แต่ยัง ...)
  • Both ... and ... (ทั้ง ... และ...)
  • ... and ... ( ... และ ...)
  • ... as well as ...  ( ... และ ...)
  • พวกนี้ใช้หลัก Parallelism
ตัวอย่าง
I don't want to go shopping;besides,I haven't got any money.
ฉันไม่อยากไปช้อปเลย นอกจากนี้ฉันก็ยังไม่มีตังค์อีก
เขียนได้อีกแบบนึง
I don't want to go shoppingBesieds,I haven't got any money.
Not only Mr.White but also Mr.Bean takes in charge of this job.
ไม่เพียงแต่คุณไวท์เท่านั้นที่ควบคุมงานนี้แต่คุณบีนก็ด้วย
Jenny works as a translator as well as a teacher.
เจนนี่เธอเป็นทั้งนักแปลและครูด้วย
หมายเหตุ
Moreover , Furthermore , still ,yet , however และ nevertheless มีวิธีการเขียนอยู่ 2 แบบ เมื่อไปเจอการใช้ไม่เหมือนกันก็อย่าไปงงกับมัน
S + V ; .......... , S + V
S + V . .......... , S + V
2. ประโยคบอกความขัดแย้ง กลุ่มนี้มีความหมายเหมือน "but" แปลว่า "แต่"
  • While , Although , Though , Eventough , Even if , But
  • Still,  แต่กระนั้นก็ตาม
  • Yet, แต่กระนั้นก็ตาม
  • However,
  • Nevertheless,
  • Nonetheless,
  • No matter what ไม่ว่าอะไรก็ตาม
  • No matter how ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
+ S + V , S + V
ตัวเชื่อมพวกนี้สามารถวางขึ้นต้นประโยคหรือกลางประโยคก็ได้
ตัวอย่าง
Although he wore dirty clothes , he was a rich man. หรือ
He was a rich man  although  he wore dirty clothes.
ถึงแม้ว่าเขาจะสวมเสื้อผกสกปรกแต่เขาเป็นคนมีตังค์นะ
He never listens no matter what I say.
เขาไม่เคยรับฟังอะไรก็ตามที่ฉันพูดเลย
แต่ถ้าหลังตัวเชื่อมเป็นกลุ่มคำเราต้องเปลี่ยนมาใช้ preposition ในกรณีที่ต้องการความขัดแย้งค่ะ
S + V + despite / in spite of + N / V.ing
เช่น Despite having just a little money , we enjoy our life.
ถึงแม้จะมีตังค์เพียงน้อยนิด แต่พวกเราก็มีความสุขกันได้
3. ประโยคให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
Either ... or   ....หรือ .... (ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง)
Neither .... nor ....   ไม่ทั้ง .... และ ....(ไม่ทั้งคู่)
ตัวอย่าง
You can ask either Nid or Nee to go with you.
คุณจะขอให้นิดหรือไม่ก็นีไปกับคุณก็ได้
Neither my mom nor I like Somtum.
ทั้งแม่และฉันต่างก็ไม่กินส้มตำ.
ปัฉฉิมลิขิต อย่าลืมหลัก Paralellism นะคะ
4. ประโยคบอกเหตุ ทั้งหมดแปลว่า "เพราะ , เนื่องจาก"
S + V (ผล) + because,since,for + S + V (เหตุ).
ตัวอย่าง
We have to work harder because/as/since/for we need more money.
พวกเราจำเป็นต้องทำงานหนักมากกว่าเดิมเพราะว่าอย่างได้เงินเยอะๆ

เราสามารถย้ายตัวเชื่อมได้ เพราะมันสามารถวางขึ้นต้นประโยคหรือกลางประโยคก็ได้
แต่ต้องระวังให้ดีเวลาย้ายตัวเชื่อมนะคะ ต้องให้ตัวเชื่อมอยู่หน้าประโยคบอกเหตุเสมอ 
ย้ำ ตัวเชื่อมพวกนี้ต้องตามด้วยประโยคเสมอ เพราะเป็นตัวเชื่อมที่เชื่อมระหว่า ประโยค กับ ประโยค
มาดูตัวเชื่อมที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคกับกลุ่มคำ กับบ้าง
due to / owing to / because of / as a result of / on account of / thanks to  + V.ing / Noun (สาเหตุ)
ตัวอย่าง
Owing to the bad weather,the match was cancelled.
เนื่องจากสภาพอากาศที่แย่ การแข่งขันฟุตบอลจึงถูกยกเลิกไป
Our flight was delayed on account of bad weather.
เที่ยวบินพวกเราต้องถูกงดเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ
ตัวเชื่อมสามารถวางไว้ต้นประโยคได้ แต่ต้องมีกลุ่มคำหรือคำตามหลังเสมอ
ยังมีตอนที่ 3

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

English Conversation